วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์


สวัสดีครับ
อาชีพที่ผมเลือกมาคือ วิศวะคอมพิวเตอร์ครับ

1.วิศวะคอมพิวเตอร์ คืออะไร
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์

2.วิศวะคอมพิวเตอร์ ต้องศึกษาเกี่ยวกับอะไร
วิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้องเคยศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดีด้วย

3.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เริ่มมีมาเมื่อไร
ในอเมริกาเริ่มจากแต่เดิมเป็นสาขาวิชาเฉพาะทางในวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการวิศวกรรมฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาช่วงหลังปี ค.ศ. 1990 จึงมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการศึกษาทางด้านซอฟต์แวร์ หรืออาจมองได้ว่าเกิดจากการรวมกันของวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถ้าพิจารณาจากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าแล้ว วิศวกรคอมพิวเตอร์คือวิศวกรไฟฟ้าที่มุ่งเน้นไปที่ระบบฮาร์ดแวร์เชิงดิจิทัล และไม่เน้นทางด้านความถี่วิทยุ หรือไฟฟ้ากำลัง และถ้ามองจากทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อประสานระหว่างซอฟต์แวร์และระบบฮาร์ดแวร์
ในประเทศไทยมีหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นครั้งแรก ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เพื่อจัดดำเนินการด้านการเรียน

4.ก่อนเป็นวิศวะคอมพิวเตอร์ สอบอะไรบ้าง



PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น ComputerEngineering, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ

1.องค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามาหาวิทยาลัย ปี 2553
ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %

รวม 100 %

**หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ

2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%

2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ

3. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ

5.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนอะไรบ้าง

1.หลักการหรือทฤษฏีการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ซึ่งภาษาที่ศึกษาหลักๆ ได้แก่ ภาษาซี ภาษาจาวา ภาษาพีเฮชพี และภาษาเอสคิวแอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงหลักการเขียนโปรแกรมหรืออัลกอริธึม และศึกษาว่ามีโครงสร้างข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม รวมทั้งศึกษาว่า ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และศึกษาวิธีการแปลงภาษาระดับสูงที่มนุษย์เข้าใจ ไปเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ รวมทั้งศึกษาวิธีการเขียนและออกแบบซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่จะเขียนด้วย และศึกษาหลักการและการออกแบบระบบขนาดใหญ่


2.หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าแบบดิจิตอลอย่างไร และศึกษาว่าคอมพิวเตอร์มีโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมเป็นแบบใด และศึกษาว่านอกจากฮาร์ดแวร์แล้วคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมพื้นฐาน ไว้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการหรือโอเอส รวมทั้งศึกษาวงจรคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน ที่เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ และศึกษาหลักการและวิธีการเข้ารหัส และการถอดรหัสคอมพิวเตอร์ ศึกษาการควบคุมความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์


3.หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและโปรโตคอลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค) การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเพื่อใช้งานร่วมกัน รวมทั้งศึกษาถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปให้บริการต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่น มือถือ เครื่องปาล์ม เป็นต้น


4.หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง การประยุกต์คณิตศาสตร์ไปใช้กับการออกแบบชิ้นงานที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งศาสตร์ด้านนี้รู้จักในชื่อของ ซอฟต์แวร์ประเภทแคด/แคม รวมทั้งการนำคอมพิวเตอร์ไปจัดการกับภาพและเสียง


5.หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึง วิธีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีความชาญฉลาด หรือศาสตร์ที่ชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่เลียนแบบมนุษย์ เช่น ระบบผู้วชาญ ระบบวิเคราะห์ภาพ ระบบวิเคราะห์เสียง เป็นต้น


6)หลักการหรือทฤษฏีที่เกี่ยวกับการทำงานของการคำนวณและการประยุกต์ใช้งานระดับสูง
นักศึกษาจะได้ศึกษาถึงหลักการที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการคำนวณ ซึ่งเป็นทฤษฏีระดับสูง และศึกษาการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานระดับสูงซึ่งมีความยาก เช่น การประยุกต์ไปใช้งานด้านชีวภาพ การประยุกต์ใช้งานมัลติเมเดียระดับสูง การสกัดความรู้ที่สำคัญและน่าสนใจจากข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น

6.ลักษณะวิชาที่เรียน
ในจำนวน 143 หน่วยกิตที่จะต้องเรียนในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นั้น ประกอบไปด้วยวิชาการศึกษาทั่วไป วิชาบังคับทางวิทยาศาสตร์ และวิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์รวมทั้งสิ้น 58 หน่วยกิต ที่เหลืออีก 85 หน่วยกิตเป็นวิชาที่เกี่ยวกับาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์โดยตรง 85 หน่วยกิตหรือประมาณ 29 วิชานี้ครอบคลุมพื้นฐานทางทฤษฎี ปฏิบัติการ และการประยุกต์ ซึ่งเพียงพอกับการนำไปประกอบวิชาชีพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

วิชาต่างๆ ในสาขานั้นครอบคลุมเนื้อหาไล่ตั้งแต่ระดับซิลิกอน ทรานซิสเตอร์ เกต หน่วยประมวลผล คอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ไปจนถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไล่ตั้งแต่บิต ไบต์ เรคคอร์ด แฟ้ม ไปจนถึงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ไล่ตั้งแต่เขียนโปรแกรมยาว 1 ฟุต ยาว 1 เมตร จนถึงโปรแกรมที่หนาหลายนิ้ว ซึ่งต้องใช้กระบวนการควบคุมอย่างมีระบบทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์

เราพอจะแบ่งวิชาที่ต้องเรียนของภาคฯ ออกกลุ่มๆ ได้เป็นกลุ่มทางทฤษฎี กลุ่มทางซอฟต์แวร์ กลุ่มทางฮาร์ดแวร์ และกลุ่มทางระบบสารสนเทศ วิชาบังคับในแต่ละกลุ่มมีให้เรียนในทุกๆ ภาคการศึกษา โดยมีวิชาเลือกอยู่ 5 ตัวให้น้องๆ ได้เลือกตามความสนใจของแต่ละคนในปี 3 และปี 4 และที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือวิชาฝึกงานที่ต้องทำกันในช่วงฤดูร้อนหลังปี 3 ซึ่งนิสิตของภาคฯ มักจะไม่ค่อยได้ฝึกงานสักเท่าไร เพราะหน่วยงานส่วนใหญ่ที่รับไปนั้น ใช้นิสิตไปทำงานจริงๆ กันมากกว่า

การเรียนในภาคฯ ผสมผสานไปด้วยการออกแบบและการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นทางซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบสารสนเทศ ทักษะและความรู้ในการออกแบบและการวิเคราะห์ การเข้าห้องปฏิบัติการ และการทำโครงงานแล้ว ยังต้องได้มาจากการศึกษาด้วยตนเองด้วยความใฝ่รู้ และความร่วมมือกันระหว่างพี่ๆ น้องๆ ในสังคมการศึกษา

7.จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทำงานอะไร??
- ธุรกิจส่วนตัว
-โปรแกรมเมอร์

-Microsoft
-Network ทั้งหลาย
-IT support
-ครูสอนคอมฯ
-ฯลฯ

8.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนจบมาตกงานไหม??
ยากครับเพราะ เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลากหลายคับ
เพราะวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในตลาดแรงงาน เพราะทุกธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องระบบคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิศวกรสามารถเลือกงานได้สามลักษณะคือ
วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโครงข่ายให้แก่ภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งงานคือบริษัทฯ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรใหญ่และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T บริษัท ไอบีเอ็ม บริษัท SUN Microsystem บริษัท LUCENT Technology บริษัท CISCO เป็นต้น วิศวกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้มีรายได้เงินเดือนสูงมาก
วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ วิศวกรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายของธนาคารและห้างสรรพสิน
หรือถ้าถนัดด้านโปรแกรม ก็สามารถเป็นวิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์อิสระ รับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการเองได้

ถ้าหากเราตั้งใจจริง ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลครับ

ตัวอย่างการประกอบคอมพิวเตอร์ - เบื้องต้น



200 เคล็ดลับเก่งคอมพิเตอร์